วันศุกร์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2559

โรงพยาบาล ระดับ Tertiary care คือ อะไร?

โรงพยาบาลที่มีหมอเฉพาะทาง เยอะๆ ?
โรงพยาบาลที่รับส่งต่อเคสยากๆ จาก โรงพยาบาลทั่วๆไป?
แล้วโรงพยาบาลทั่วๆไป เรียกว่าอะไร ?

คลิกที่
https://en.wikipedia.org/wiki/Tertiary_referral_hospital

โรงพยาบาล Tertiary care คือ โรงพยาบาลระดับตติยะภูมิ
คือ โรงพยาบาลที่รับส่งต่อ เคสยากๆ จากโรงพยาบาลทั่วไป
ให้บริการรักษาในระดับตติยะภูมิ
นั่นคือ โรงพยาบาลที่สามารถให้บริการโดยแพทย์เฉพาะทาง 


ส่วนโรงพยาบาลทั่วๆไป จัด เป็น primary care hospital และ secondary care
คือ ระดับต้น กับ ระดับทุติยะภูมิ

ยังไม่มีคำจำกัดความที่ชัดเจน หรือเป็นทางการ แต่ โรงพยาบาลที่เป็นตติยะภูมิ มักจะมีคุณสมบัติต่อไปนี้
  • เป็นโรงพยาบาลขนาดใหญ่ที่มักจะมีการให้บริการที่ครบถ้วนทุกแผนก เช่น แผนกกุมารเวชศาสตร์, สุูตินรีเวช, อายุรกรรม, นรีเวช และมีแผนกศัลยกรรมที่ลงลึกเฉพาะทาง (ไม่ใช่แค่มีแต่ศัลยกรรมทั่วไป) และ ยังมีแผนกจิตเวช ด้วย 
  • หรือ เป็นโรงพยาบาลเฉพาะทาง ที่อุทิศตน หรือมุ่งมั่นเฉพาะ สาขาเฉพาะนั้นๆ เป็นหลัก เช่น ศูนย์กุมารเวชฯ (โรงพยาบาลเด็ก) ศูนย์มะเร็ง, (โรงพยาบาลด้านมะเร็งโดยเฉพาะ) , โรงพยาบาลสำหรับคนไข้โรคจิต เท่านั้น, เป็นต้น โรงพยาบาลประเภทนี้ คนไข้ จะ ถูกส่งต่อเคส มาจาก โรงพยาบาลที่เล็กกว่า. โรงพยาบาลที่เล็กกว่าจะส่งเคสมาให้โรงพยาบาลตติยะภูมิเพื่อ... เช่น ทำผ่าตัดใหญ่ , ขอคำปรึกษาจากหมอเฉพาะทางโรคนั้นๆ หรือ คนไข้จำเป็นต้องรับการรักษาแบบละเอียดซับซ้อน หรือ ดูแลอย่างใกล้ชิดยิ่งยวด โดยพึ่งเครื่องมือแพทย์ หรือเครื่องมือที่มีเทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อให้บริการรักษากับคนไข้ที่เคสที่ต้องดูแลใกล้ชิด
  • โรงพยาบาลที่เป็นโรงพยาบาลระดับตติยะภูมิ เช่น 
  • รพ.ที่รักษามะเร็งที่ศรีษะและคอ
  • รพ.ที่มีแผนกสาขา ศูนย์เวชศาสตร์มารดาและทารกปริกำเนิด
  • รพ.ที่มีแผนกสาขาดูแลโรคที่ละเอียดซับซ้อนให้กับทารกแรกเกิด
  • รพ.ที่มี PET scans (Ct scan เพื่อตรวจหาโรคมะเร็ง,โรคทางสมอง และโรคหัวใจและหลอดเลือด
  • รพ.ที่สามารถทำผ่าตัดเปลี่ยนถ่ายอวัยวะได้
  • รพ.ที่สามารถทำผ่าตัดฉุกเฉินได้ (Trauma surgery)
  • รพ.ที่สามารถสามารถทำคีโมระดับปริมาณสูงให้แก่คนไข้ได้ ในเคสมะเร็ง
  • รพ.ที่รักษาคนไข้ที่มีอาการผิดปกติของภาวะการเจริญเติบโตและ ภาวะหนุ่มสาวก่อนวัยได้
  • รพ.ที่มีแผนกประสาทวิทยา และสามารถทำศัลยกรรมประสาทได้ (หมอสามารถผ่าตัดเพื่อรักษาโรคทางประสาทวิทยาได้) 

วันอังคารที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2559

วิธีตัดต่อ คลิป แบบง่ายๆ โดยใช้ Windows Movie Maker

อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม
1.เครื่องอัดเสียง / หรือ ไฟล์เสียงต้นฉบับที่ต้องการตัดต่อ
2. ไฟล์ภาพ (ควรเป็นภาพเกี่ยวกับหรือสื่อเกี่ยวกับเนื้อหาเสียง)

วิธีทำ
3.เปิดโปรแกรมขึ้นมา แล้วก็ใส่ภาพลงไป 1 ภาพ (ปุ่ม insert video or pictures) เพื่อเป็นเชื้อให้ใส่ไฟล์เสียง
4. จากนั้น ใส่ไฟล์เสียงต้นฉบับ ที่ต้องการตัดต่อ คลิกที่ภาพ แล้วเลือก "จัดให้พอดีกับเพลง”
5. ฟังไฟล์เสียง ด้วยการกดปุ่ม play สังเกตดูคลื่นเสียงของไฟล์เสียงต้นฉบับ ถ้าอันไหน ไม่มีคลื่นแปลว่า ผู้พูดเว้นเสียงยาวไป ไม่มีประโยชน์ ก็กำหนดจุดที่ไร้ประโยชน์นั้น ตัดให้มันสั้นลง เพื่อเวลาอัพโหลดเข้า youtube จะได้สั้นกระชับ (วิธีตัด คือ ไปที่ เพจสุดท้าย “ตัวเลือก” options แล้วเลือก split/แยก)
6. แล้วก็ ถ้าok ให้ใส่ credit งาน เช่น รูปภาพ หรือไฟล์เสียง (ในโปรแกรมเรียกว่า รายชื่อผู้ที่เกี่ยวข้อง)
7. กด save งาน/โครงการ เป็นระยะ เพื่อป้องกันไฟดับระหว่างทำงาน แล้วไฟล์จะ สูญเสีย
8. ถ้างานเสร็จ ให้กด save เป็น type mp4 เพื่อเหมาะกับงาน upload ขึ้น youtube  (ใช้คำสั่ง บันทึกภาพยนตร์สำหรับ computer) แล้วค่อยอัพโหลดขึ้น youtube ภายหลัง วิธีนี้เพื่อให้งานอยู่ในเครื่องฯ (play safe ไว้ก่อน)
9.  แล้วค่อยอัพโหลด ขึ้น youtube หรือส่งให้ทีมงานต้นสังกัด
10. สำหรับปกคลิป อาจจะทำเอง หรือให้ทีมงานต้นสังกัด ทำเพื่อทีมงานฯต้นสังกัดจะไปเรียบเรียง series เอาเอง
11. หากต้องทำปกคลิปเอง ให้ เอา เส้น Cursor ไปไว้หน้าสุดของไฟล์ และกด เพิ่ม “ชื่อเรื่อง” เพื่อทำปก
*****